พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 67 ก/หน้า 67/22 พฤษภาคม 2562
โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนั้น พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2562 เป็นต้นไป
มีใจความสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. เปลี่ยนความหมายที่กำหนดไว้ในมาตรา 4
1.1 จากเดิม มาตรา 4 (32) "ใบอนุญาตขับขี่" หมายความว่า ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ใบอนุญาตสำหรับคนขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง ใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง
เป็น หมายความว่า ใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก - ซึ่งทำให้มีความหมายและใจความที่กระชับกว่าเดิม
1.2 จากเดิม มาตรา 4 (37) จะเป็นความหมายของ "เจ้าพนักงานจราจร" หมายความว่า ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานจราจร และ (38) จะเป็นความหมายของ "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมกาารจราจร
ดังนี้เมื้อพระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้จึงมีผลทำให้คำว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่" เป็นอันสิ้นไป ทำให้เหลือแต่เพียงคำว่า "เจ้าพนักงานจราจร" หมายความว่า หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรและข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) รองผู้กำกับการจราจร
(ข) สารวัตรจราจร
(ค) รองสารวัตรจราจร
(ง) ผู้บังคับหมู่งานจราจร
(จ) รองผู้บังคับหมู่งานจราจร
(ฉ) ข้าราชการตำรวจตำแหน่งอื่นซึ่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร
1.3 จากเดิม ไม่มีกฎหมายบัญนิยามคำว่า "หัวหน้าเจ้าพนักงานจรจร" ไว้ แต่ผลของพระราชบัญญัติจราจรทางบกฉบับปัจจุบัน (ฉบับที่ 12) ได้เพิ่มคำว่า "หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร" ไว้ในมาตรา 4 (38) หมายความว่า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือข้าราชการตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองผู้กำกับการหรือเทียบเท่าที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
1.4 และ ให้แก้คำว่า "เจ้าพนักงานจราจร" ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เป็นคำว่า "หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร" ทุกแห่ง
ซึ่งจากเดิมเจ้าพนักงานจรามีอำนาจ เช่น ประกาศกำหนดความหมายของคำว่าทาง, กำหนดทางเดินรถ, อนุญาตให้นำรถที่มีผิวสัมผัสกับถนนที่ไม่ใช่ยางมาวิ่งได้, ทำหนังสือผ่อนผันเมื่อมีผู้ร้องขอกรณีพิเศษ, รื้อถอนสัญญาณหรือเครื่องหมายจราจร, ออกข้อบังคับต่าง ๆ, จัดให้มีด่านตรวจ
1.5 ให้แก้ไขคำว่า "เจ้าพนักงานจราจรและพนักงานเจ้าที่" และ "พนักงานเจ้าหน้าที่" ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เป็นคำว่า "เจ้าพนักงานจราจร" ทุกแห่ง เว้นแต่ในมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้แก้คำว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่" เป็นคำว่า "ตำรวจ"
จึงมีผลทำให้
(1.) บุคคลซึ่งจะเป็น "เจ้าพนักงานจราจร" ไม่จำเป็นจะต้องได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีอีกต่อไป แต่เจ้าพนักงานจราจรเป็นได้โดยตำแหน่งที่ระบุไว้ในมาตรา 4(37) ที่แก้ไขใหม่
(2.) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองผู้กำกับการหรือเทียบเท่าที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ต้องรับผิดชอบแทนเจ้าพนักงานจราจรตามกฎหมายเดิมทุกประการ ซึ่งก็เป็นข้อดีเนื่องจากกฎหมายมอบให้ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ตำรวจมากที่สุดเป็นผู้ควบคุมดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการจราจรทางบกได้อย่างดีมากขึ้น
2. จัดให้มีฐานข้อมูลประวัติและใบขับขี่แบบออนไลน์
2.1 มาตรา 6 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา 4/1 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 "มาตรา 4/1 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลและบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามบัทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับการจราจร ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบกจัดให้มีมีข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับประวัติและการกระทำผิดตามกฎหมายของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลทะเบียนรถ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้มีการประสานข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอธิบดีกรมการขนส่งทางบกร่วมกันกำหนด"
2.2 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ควาามต่อไปนี้แทน
"มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้"
ซึ่งเดิมมีข้อความว่า "ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานจราจร กับออกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้"
2.3 มาตรา 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 31/1 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
"มาตรา 31/1 ในขณะขับรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวและต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานจราจรเมื่อขอตรวจ
ในกรณีที่ผู้ขับขี่แสดงใบอนุญาตขับขี่ด้วยวิธีการทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับขี่ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ถือว่าผู้ขับขี่มีใบอนุญาตขับขี่อยู่กับตัวตามวรรคหนึ่งแล้ว"
ตามความในมาตรา 31/1 ที่เพิ่มเติมมานี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้เราจะไม่ได้พกใบขับขี่จริงที่กรมการขนส่งทางบกออกให้ก็ตามหารเรามีสำเนาหรือภาพถ่ายใบขับขี่แสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่าเป็นใบขับขี่ของเราจริงเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สามารถที่จะแจ้งข้อหาความผิดฐานไม่พกใบขี่ได้อีกต่อไป และอีกหนึ่งช่องทางที่ใช้แสดงแทนใบขับขี่ได้ก็คือแอพพลิเคชั่นที่กรมการขนส่งทางบกได้จัดทำขึ้นเพื่อให้รองรับระบบใบขับขี่แบบอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถหาโหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้ ชื่อ
DLT QR Licence
(แถม) มาตรา 8 เดิม เป็นเรื่องการให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับกาารใช้วัสดุหรือฟิล์มกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยฟิล์มที่ติดกระจกหน้ารถนั้นจะต้องมองเห็นทางได้ชัดเจน (ซึ่งปัจจุบันเป็นไปตาม "ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วย การใช้วัสดุกรองแสงกับรถที่นำมาใช้ในทางเดินรถ พ.ศ. 2541") กำหนดไว้ว่า ฟิล์มกรองแสงที่กระจกกันลม ซึ่งเมื่อวัดการผ่านของแสงแล้วปสงต้องผ่านทั้งกระจกกันลมและฟิล์มกรองแสงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 โดยการติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกกันลมด้านหน้า ให้ติดจากขอบกระจกด้านบนลงมาได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของพื้นที่กระจกกันลม โดยการตรวจวัดความเข้มของฟิล์มกรองแสงนี้จะใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่กระทรวงอุตสาหกรรม หรือกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรับรอง ทั้งนี้โดยไม่ต้องลอกฟิล์มกรองแสงออกตรวจสอบ และการตรวจวัดนี้ให้ใช้กับฟิล์มรถยนต์ทุกประเภทด้วย
0 ความคิดเห็น